ช่องทางจ่ายหนี้ กยศ. และ วิธีคำนวนการผ่อนชำระหนี้ในระยะเวลา 15 ปี

ช่องทางจ่ายหนี้ กยศ. และ วิธีคำนวนการผ่อนชำระหนี้ในระยะเวลา 15 ปี

ช่องทางวิธีชำระหนี้ กยศ. ทาง กยศ. จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้ยืมครบกำหนดก่อนชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือนรายปีให้ผู้กู้ยืมทราบ หากผู้กู้ยืมไม่ได้หนังสือแจ้งภาระหนี้ สามารถตรวจสอบยอดหนี้ที่ต้องชำระด้วยตัวเองได้ทาง www.studentloan.or.th และนำเงินไปชำระได้ตามช่องทางที่กำหนด ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย

- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์

- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร

- ตู้ ATM

- อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)

- แอปพลิเคชัน Krungthai Next

- ระบบกรุงไทย Tele Bank โทร 02-111-1111

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์

- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร

- ตู้ ATM

จำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมชำระทุกครั้งจะถูกหักเป็นค่าธรรมเนียมลดยอดหนี้ก่อน แล้วจึงนำยอดเงินที่เหลือไปหักลดยอดหนี้ ทั้งนี้ บางช่องทางอาจมีการปรับลดหรือการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศของธนาคาร

การชำระด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode

ผู้กู้ยืมสามารถใช้หนังสือแจ้งภาระหนี้ หรือพิมพ์รหัสชำระเงินจากระบบตรวจสอบหนี้ทางเว็บไซต์ กยศ. และนำไปชำระผ่านหน้าเคาน์เตอร์ของหน่วยรับชำระดังต่อไปนี้

- ไปรษณีย์ไทย

- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ยื่นบัตรประชาชนหรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)

- ธ. ไทยพาณิชย์

- ธ. แลนด์ แอนด์ เฮาส์

- ธ. เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

- ธ. ทหารไทย

- ธ. กรุงศรีอยุธยา

- ธ. กสิกรไทย

- ธ. กรุงเทพ

หมายเหตุ

- ชำระได้เฉพาะผู้กู้ยืมที่ไม่มียอดค้างชำระ และมีสถานะชำระหนี้ปกติตามสัญญา 15 ปีเท่านั้น

- สามารถตรวจสอบรายการลดหนี้ได้ภายหลังจากวันที่ผู้กู้ยืมชำระเงินไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ

- จำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมชำระทุกครั้งจะถูกหักเป็นค่าธรรมเนียมลดยอดหนี้ก่อน แล้วจึงนำยอดเงินที่เหลือไปหักลดยอดหนี้

- ผู้กู้ยืมต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละช่องทางที่ใช้บริการ

การชำระหนี้โดยการหักเงินเดือนผู้กู้ยืมที่สังกัดองค์กรนายจ้างภาครัฐและเอกชน

การหักเงินจะเริ่มต่อเมื่อ กองทุนได้แจ้งนายจ้างอย่างเป็นทางการเท่านั้น ผู้กู้ยืมที่สังกัดองค์กรนายจ้าง ภาครัฐ/เอกชน มีหน้าที่แจ้งความเป็นลูกหนี้ให้นายจ้างทราบภายใน 30 วัน และยินยอมให้นายจ้างหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ตามจำนวนที่ กยศ. แจ้งมายังนายจ้าง หากผู้กู้ยืมประสงค์ชำระจำนวนมากกว่าที่ให้หักเงินเดือนสามารถชำระผ่านทางธนาคารและช่องทางอื่นๆ ที่กองทุนกำหนด

เมื่อ กยศ. ตรวจสอบข้อมูลผู้กู้จากประกันสังคม / กบข. / กรมสรรพากร ทราบว่าผู้กู้ยืมทำงานอยู่หน่วยงานใด กยศ. จะแจ้งไปยังผู้กู้ยืมให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 เดือน เพื่อจะหักเงินเดือนและแจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนผู้กู้ยืมตามที่ กยศ. แจ้ง และนายจ้างมีหน้าที่หังเงินเดือนนำส่งกรมสรรพากร ลำดับหักเงิน

- หักภาษี ณ ที่จ่าย

- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ประกันสังคมกฎหมายคุ้มครองแรงแงาน

- เงินกู้ยืมกองทุน กยศ.

ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้

ผู้กู้ยืมเงินต้องผ่อนชำระหนี้ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี ภายในระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ต้องเริ่มชำระตามอัตราการผ่อนชำระรายปี ดังนี้

ปีที่ 1 อัตราการผ่อนชำระ 1.5 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 2 อัตราการผ่อนชำระ 2.5 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 3 อัตราการผ่อนชำระ 3 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 4 อัตราการผ่อนชำระ 3.5 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 5 อัตราการผ่อนชำระ 4 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 6 อัตราการผ่อนชำระ 4.5 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 7 อัตราการผ่อนชำระ 5 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 8 อัตราการผ่อนชำระ 6 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 9 อัตราการผ่อนชำระ 7 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 10 อัตราการผ่อนชำระ 8 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 11 อัตราการผ่อนชำระ 9 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 12 อัตราการผ่อนชำระ 10 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 13 อัตราการผ่อนชำระ 11 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 14 อัตราการผ่อนชำระ 12 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ปีที่ 15 อัตราการผ่อนชำระ 13 (ร้อยละของจำนวนเงินที่กู้ยืม)

ตัวอย่างตารางคำนวนการผ่อนชำระหนี้ 100,000 บาท ภายในระยะเวลา 15 ปี

ผู้กู้ยืมต้องชำระเงินคืนไม่ต่ำกว่ายอดรวมต่อปี (เงินต้น + ดอกเบี้ย) ภายในวันที่ 5 ก.ค. ของทุกปี เพื่อป้องกันการเสียเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระ

วิธีคำนวนกรณีสัญญาชำระรายเดือน

เอายอดรวมที่ต้องชำระรายปี หารด้วย 12 จะเท่ากับ ยอดชำระรายเดือน

ข้อมูล,ภาพ studentloan

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ