อินโดฯ สร้างหมู่บ้านบนดาดฟ้า เป็นทางเลือกการอยู่อาศัยแบบใหม่หนีความแออัด

อินโดฯ สร้างหมู่บ้านบนดาดฟ้า เป็นทางเลือกการอยู่อาศัยแบบใหม่หนีความแออัด

ในหลาย ๆ เมืองรอบ ๆ อเมริกาเหนือ เอเชียและยุโรป พื้นที่สาธารณะ/พื้นที่กลางแจ้งนั้นหายากมาก สถาปนิกและผู้สร้างอาคารจึงต่างเปลี่ยนหลังคาบนยอดตึก ให้เป็นสนามเด็กเล่นพร้อมสระว่ายน้ำและสวนผัก แต่ในจาการ์ตาอินโดนีเซีย ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่งได้เปลี่ยนดาดฟ้าด้านบน ของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งให้กลายเป็นเขตชานเมือง ที่มีบ้าน ถนน สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ และแมกไม้สีเขียวขจี บนดาดฟ้าของตึกมีอาคาร 78 หลัง มีพื้นที่สาธารณะ/สันทนาการขนาดใหญ่ พร้อมกับสภาพแวดล้อมของคนเมือง สำหรับการอยู่อาศัยและทำการค้าเล็กน้อย

Cosmo Park ตั้งอยู่บนชั้นบนสุด/ดาดฟ้า ของ Thamrin City Mall ที่จาการ์ตาตอนกลาง ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าสูง 10 ชั้น บ้านเรือนสร้างบนพื้นที่จอดรถยนต์ที่อยู่ด้านล่าง อาคารแห่งนี้สร้างเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก

ที่นี่ดูเหมือนว่าให้ความรู้สึกเหมือนชานเมืองจริง ๆ ด้านบนของดาดฟ้ามีพื้นที่ขนาด 3 เอเคอร์ (7.6 ไร่) มีบ้านสองชั้น 78 หลัง มีถนนยางมะตอยที่ลาดอย่างประณีต มีการปลูกต้นลีลาวดีและเพื่องฟ้าเป็นหลัก พอ ๆ กับต้นไม้อื่น ๆ ภายในบริเวณหมู่บ้าน มีถนนสาธารณะให้พวกเด็ก ๆ ปั่นจักรยานเล่นได้ ผู้คนใช้วิ่งเหยาะ ๆ หรือเดินจูงสุนัข หรือขับขี่จักรยาน พร้อมกับมีสโมสรเพื่อการสันทนาการและนั่งเล่นกัน

ผู้อยู่อาศัยด้านบนสามารถขับรถยนต์ขึ้นไป จนถึงบ้านพักของตนด้านบนได้เลย โดยมีทางลาดภายในสร้างไว้ให้ขึ้นไปได้โดยเฉพาะ มีรั้วโลหะสูงล้อมรอบปริมณฑลกั้นไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครตกลงไปหรือขับรถยนต์หล่นลงไปได้

ผู้พักอาศัยใน Cosmo Park ต่างรู้สึกว่าชุมชนแห่งนี้ ปลอดภัยกว่าย่านชานเมืองทั่วไปของเมืองจาการ์ตา การพักอาศัยอยู่ที่ด้านบนของอาคารเหมือนอยู่ในบ้านของตนเอง และไม่รู้สึกว่าต่างคนต่างอยู่เหมือนกับคนที่อยู่ในอพาร์ตเมนต์

" มันดีมากเลย มีพื้นที่เปิดโล่งมาก ลูกชายของฉันขี่จักรยานไปมาได้ มันอยู่ใจกลางเมืองที่ปลอดภัยมาก และมีความรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่กับเพื่อนบ้าน ในละแวกบ้านที่น่ารักมาก " Fazila Kapasi ผู้อยู่อาศัยรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ The Guardian

ครอบครัวเธอมาจากมุมไบ(อินเดีย) มาอยู่ที่นี่ 6 ปีแล้ว และเธอยังมีเหตุผลอื่นอีกที่พักอาศัยอยู่ใน Cosmo Park เพื่อหลบหนีภัยจากน้ำท่วมบ่อยครั้งของเมืองจาการ์ตา ในตอนบ่าย เธอมักจะออกไปทักทายเพื่อนบ้าน แต่เวลาส่วนใหญ่ของเธอกับลูกชาย ต่างเลี้ยงนกพิราบที่อาศัยอยู่ในต้นไม้ใกล้เคียง เธอยังมีสวนส่วนตัวที่ผูกเปลญวนไว้นอนเล่นนั่งเล่น และพื้นที่ดินที่ว่างไว้ปลูกมะเขือ มะเขือเทศ และพริก

" มันเป็นโอเอซิสที่น่ารัก มันเหมือนบ้านจริง ๆ ไม่ใช่อพาร์ทเมนต์ ฉันคงไม่สามารถอธิบายถึงความรู้สึกได้อย่างเพียงพอ แน่นอน ที่นี่อยู่กันบนที่สูง ไม่มี kaki lima (อาหารหาบเร่แผงลอย (เธอพูดแบบขำขำ)) แต่มีพื้นที่กว้างขวางและพื้นสาธารณะจำนวนมาก เรามีความเป็นส่วนตัวมาก และดีอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวของฉัน ลูกชายฉันออกไปเล่นข้างนอกได้เลย เพียงแค่เดินออกจากประตูบ้าน " Indri Lestari ผู้พักอาศัยใน Cosmo Park อีกรายหนึ่ง พวกเธอเป็นชาวสเปญที่ย้ายมาทำงานที่นี่

" Cosmo Park ที่นี่เป็นที่นิยมมากกว่า ชาวต่างชาติจำนวนมากเลือกที่นี่ และคุณก็รู้ว่าควรจะโทรศัพท์หาใครบ้าง ที่ต้องการย้ายมาอยู่ที่นี่ " ตัวแทน/นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้สัมภาษณ์ The Guardian พร้อมกับภาพถ่ายสระว่ายน้ำ เครื่องซักผ้าและมินิมาร์ท เส้นทางเดินทางและความสะดวกสบายของสถานที่นี้

Cosmo Park ไม่ใช่เป็นหมู่บ้านเพียงแห่งเดียวที่อยู่บนดาดฟ้าใน Jakarta ยังมีอาคารคอมเพล็กซ์ที่หรูหราเรียกว่า The Villas ตั้งอยู่ด้านบนดาดฟ้า Mall of Indonesia ทางตอนเหนือของ Jakarta จาการ์ตามีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน มากเป็น 3 เท่าของพื้นที่ที่มีอยู่ในเขตใจกลางเมือง

มหานครแห่งนี้อาจจำเป็นต้องสร้างอาคารเพิ่มเติมบนดาดฟ้า/ยอดตึกในไม่ช้านี้ เพราะชีวิตชาวบ้านหลายคนบนพื้นดิน เริ่มทนไม่ได้กับภัยน้ำท่วมเรื้อรังที่เกิดขึ้นทุกฤดูฝน เพราะสาเหตุที่เมืองนี้กำลังจะทรุดตัวลง จากการสูบน้ำบาดาลใต้ดินเพื่อการอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นระดับน้ำทะเลในอ่าวจาการ์ตาก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

จาการ์ตาเป็นหนึ่งในเมืองที่หนาแน่นที่สุดในโลก เมื่อเทียบเท่ากับโตเกียว มีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 14,000 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่โตเกียวและมหานครอื่น ๆ ในเอเชีย อาคารต่าง ๆ กำลังเติบโตในแนวตั้ง แต่ในจาการ์ตากลับเติบโตในแนวนอน อาคารต่าง ๆ แผ่ขยายไปในแนวราบ รูปแบบการพัฒนาดังกล่าวนำไปสู่การขาดแคลนที่ดิน/พื้นที่สาธารณะ ทำให้เมืองนี้มีพื้นที่สีเขียวลดน้อยลงน้อยกว่า 10% ของพื้นสวนสาธารณะและสวนแบบเปิดของทางการ

Wendy Haryanto ผู้อำนวยการบริหารของ Jakarta Property Institute เชื่อว่าหนทางเดียวที่จะทำให้ Jakarta น่าอยู่ขึ้น คือ การสร้างอาคาร/บ้านเรือนในแนวดิ่ง รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากในทำเลที่ดี/พื้นที่ยุทธศาสตร์ แต่ที่ดินเหล่านี้มักใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะมักจะใช้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวและมีข้อจำกัด เช่น ให้เป็นตลาดสด หรือสถานีขนส่ง

Wendy Haryanto เสนอว่ารัฐบาลใช้พื้นที่ดังกล่าว และอาคารที่ไม่ได้ใช้งานเหล่านี้ โดยสร้างอพาร์ทเมนท์สำหรับผู้มีรายได้น้อย สร้างจำนวนหลายชั้นบนอาคารดังกล่าว เช่นเดียวกับ Thamrin City Mall และ Mall of Indonesia ที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว

"นี่อาจจะเป็นทางออกแบบ win-win รัฐจะได้รับรายได้พิเศษจากสิทธิเหนือพื้นดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สำหรับให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สร้างอพาร์ทเมนท์ผู้มีรายได้น้อย เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องสร้าง และตลาดก็จะมีธุรกิจมากขึ้น พร้อมกับผู้มีรายได้น้อยต่างก็อาศัยอยู่ในเมือง เมื่อผู้อยู่อาศัยอยู่บนพื้นที่แนวราบบางส่วน ต่างย้ายเข้าไปอยู่ในแฟลตแนวดิ่ง ในบริเวณใกล้เคียงใน TODs จาการ์ตาก็จะสามารถเข้าไปจัดการเพิ่มเติมพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะช่วยให้เมืองนี้ได้ปฏิบัติตามพันธกรณี ที่ต้องจัดสรรที่ดิน 30% ให้เป็นพื้นที่สีเขียว "

ภาพจาก theguardian

ภาพจาก theguardian

ที่มา theguardian,ravio

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ