ครบ 1 เดือน เหล่าทหารยังคงกำลังช่วยน้ำท่วมอุบลฯ

ครบ 1 เดือน เหล่าทหารยังคงกำลังช่วยน้ำท่วมอุบลฯ

ตลอดเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา กองทัพบกได้ร่วมกับทุกภาคส่วนเข้าคลี่คลายอุทกภัยและช่วยเหลือประชาชนใน 32 จังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ โพดุลและ คาจิกิ ตั้งแต่ 29 สิงหาคม -29 กันยายน 2562 ในภาพรวมศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก โดย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 2

และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 3 ได้จัดกำลังพลออกปฎิบัติภารกิจถึง 4,725 นาย พร้อมยุทโธปกรณ์ ยานพาหนะ เช่น รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ รถโกยตัก รถเทท้ายรถ เครื่องมือช่าง รถพยาบาลเคลื่อนที่ รถครัวสนาม รวม 273 คัน ,เรือท้องแบน เรือพลังลม เรือติดเครื่องยนต์ 93 ลำ เข้าช่วยเหลือประชาชนที่

ประสบอุทกภัยในพื้นที่รับผิดชอบ โดยสรุปมีการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

บริการขนส่งทางเรือท้องแบนให้กับประชาชน 11,455 คน

บริการขนส่งโดยยานพาหนะทางบก 17,372 คน

จัดชุดค้นหาและกู้ภัยสนับสนุนการค้นหาผู้ประสบภัย 3 ชุด

จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 22 แห่ง ให้บริการประชาชน 3,958 คน

ชุดแพทย์เคลื่อนที่ 19 ชุด ให้บริการตรวจรักษาประชาชน 5,459 คน

จัดโรงครัวพระราชทาน 16 แห่ง ให้บริการอาหารปรุงสุก 62,935 กล่อง

อพยพประชาชนสู่พื้นที่ปลอดภัย 2,874 ครัวเรือน

ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง 2,674 ครัวเรือน

แจกจ่ายสิ่งของอุปโภค-บริโภค 58,434 ชุด

ขนย้ายซากปรักหักพังทับอาคารบ้านเรือน 222 ครัวเรือน

ขนย้ายสิ่งกีดขวางการจราจร 109 จุด

สนับสนุนหน่วยงานในการติดตั้งสะพานแบรี่ 4 จุด ที่บ้านหินขัน ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ, บนทางหลวงหมายเลข 2404 อ.เขื่องใน จ.อุบล และอีก2จุดที่ บ้านป่ายาง และ บ้านหนองใหญ่ ต.หนองใหญ่ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

บรรจุกระสอบทรายทำพนังกั้นน้ำ 22,060 กระสอบ

การขุดลอกคูคลองกำจัดวัชพืช 775 ตัน

ทำความสะอาดฟื้นฟูบ้านเรือน 4,176 ครัวเรือน

ปัจจุบันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังเป็นการช่วยเหลือทั้งสองด้านคือการดำรงชีพประจำวันในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมและการฟื้นฟูหลังน้ำลด โดยเป็นการ‪ขนส่ง ลำเลียง สิ่งของบริจาคและอาหารปรุงสด ไปมอบให้ผู้ประสบภัย ทั้งที่อาศัยในศูนย์อพยพและตามบ้านเรือน การบริการด้านสุขภาพอนามัย

การจัดกิจกรรมนันทนาการ การช่วยทำความสะอาดอาคารและสถานที่สาธารณะ การช่วยขนย้ายสิ่งของกลับเข้าบ้าน การซ่อมแซมบ้านเรือนตามสภาพให้เข้าพักอาศัยได้ในเบื้องต้น รวมทั้ง งานบูรณาการฟื้นฟูสถานที่ เส้นทางต่างๆ ที่ต้องระดมศักยภาพของส่วนราชการ ล่าสุดคือการปรับที่นาให้เกษตรกร

โดย กองทัพภาคที่2 ได้สนับสนุนชุดทหารช่างพร้อมเครื่องมือหนัก จาก กองพันทหารช่างที่ 3 กองพันทหารช่างที่ 6 กองพันทหารช่างที่ 201

และ กองพันทหารช่างที่ 202 เข้าร่วมกับทางจังหวัดร้อยเอ็ด แขวงทางหลวง ทางหลวงชนบท ชลประทาน และ ป้องกันภัยเขต 6 ในการใช้เครื่องมือหนักเข้าปรับที่นาและลำเลียงตะกอนทรายที่มากับน้ำท่วมแล้วยังตกค้างอยู่ในที่นาของเกษตรกร 68 ราย เนื้อที่ประมาณ 530 ไร่ ใน อ.เสลภูมิ

เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเกษตรกรเตรียมพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ‬

ที่มา ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก Army PR Center

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ