ผู้ว่าหมูป่า ทนไม่ไหว หลังหนังTHE CAVE นางนอนไม่ตรงกับความเป็นจริง

ผู้ว่าหมูป่า ทนไม่ไหว หลังหนังTHE CAVE นางนอนไม่ตรงกับความเป็นจริง

เมื่อวานนี้ 25 พฤศจิกายน 62 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำปาง กลุ่มเซ็นทรัล จ ลำปาง ร่วมกับโรงภาพยนตร์ เอส เอฟ ได้เชิญนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ ลำปาง รวมถึงผู้กำกับชื่อดัง ทอม วอลเลอร์ และอาสาสมัครตัวจริงบางส่วนที่เคยเข้าร่วมภารกิจช่วยเหลือนักฟุตบอลทีมหมูป่า ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

นำโดย จิม วอร์นี นักดำน้ำชาวเบลเยียม ร่วมชมและเปิดรอบปฐมทัศน์การกุศลภาพยนตร์แห่งปีเรื่อง THE CAVE นางนอน โดยเชิญร่วมบริจาคเงินเพื่อนำรายได้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ไปสมทบช่วยเหลือผู้ประสบภัยภิบัติต่างๆ ใน จ ลำปาง และสบทบทุน น ต สมาน กุนัน จ่าแซม วีรบุรุษแห่งถ้ำหลวง

เมื่อ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ ลำปาง ผู้ว่าหมูป่า มาถึง และได้พบกับ ทอม ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้พูดคุยถึงความไม่สบายใจเกี่ยวกับเนื้อหาในภาพยนตร์ เพราะบทบางส่วนไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้หลายคนรับไม่ได้ หนังเรื่องนี้น่าจะสร้างความสามัคคีให้กับคนในโลกได้ เพราะเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับความสามัคคี แม้ผู้กำกับภาพยนตร์จะอธิบายว่า แก่นของเรื่องพยายามนำเสนอให้เห็นการทำงานของทีมกู้ภัยจิม วอร์นี นักดำน้ำชาวเบลเยียม

ผู้ว่า ลำปาง กล่าวก่อนที่จะฉายภาพยนตร์ว่า ที่ผ่านมามีหลายที่เชิญให้ตนเองไปร่วมชมภาพยนตร์ด้วย และได้ปฏิเสธไป แต่ลำปาง คือ บ้าน จึงต้องมา ดังนั้นอยากบอกว่า หากเราต้องการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ อาจจะไม่เหมือนกับที่คาดคิด ตนเองชื่นชมคุณทอมและทีมงานเรื่องการทำโปรดักชั่นในเวลาที่จำกัด และอยากทำภาพยนตร์ออกมา เพราะมันจะกลายเป็นประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่ง ส่วนตัวขอชื่นชมเรื่องที่เก็บรายละเอียดของจ่าแซม ซึ่งถือเป็นวีรบุรุษตัวจริงของเหตุการณ์นี้ แต่ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ขอเสริมความรู้เพิ่มเติมจากการดูภาพยนตร์ และจะทำให้เข้าใจบริบทมากขึ้น โดยหลังจากที่ผู้ว่าฯ ลำปาง ได้ลุกออกจากหนังหลังจากที่ดูไปได้สักพัก

หากถามว่า ภาพยนตร์เรื่อง THE CAVE นางนอน เป็นอย่างไร ขอบอกว่าเป็นการนำเสนอวีรบุรุษท่านหนึ่ง คือ จิม วอร์นี นักดำน้ำชาวเบลเยียม จ่าแซม และทีมงานนักดำน้ำที่เข้าไปช่วยอย่างอยากลำบาก เราชื่นชมในโปรดักชั่น การพาเด็กและโค้ชออกมาจากถ้ำยากเย็นแค่ไหน ใครที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์จะไม่รู้ ยอมรับว่าตอนแรกที่รู้เรื่อง ก็ไม่คิดว่าจะยากขนาดนั้น แต่พอไปอยู่หน้าถ้ำถึงรู้ว่ายาก ประกอบกับมีคนกว่าหมื่นคนที่ประสงค์มาอยู่หน้าถ้ำ บางส่วนต้องการมาช่วยอย่างจริงใจ บางส่วนอยากมาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โปรโมทตัวเอง หรืออะไรบางอย่าง

สิ่งที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ถ่ายทอด คือ แผนการปฏิบัติงานของเรา 4 แผน

1 สูบน้ำออกเท่าที่นักดำน้ำต้องการ เพื่อให้นักดำน้ำเข้าไปช่วยเด็กออกมา

2 เดินทางโพลงบนยอดดอย เพื่อหาทางเข้าถ้ำ

3 หาเส้นทางของน้ำที่ไหลเข้าถ้ำ

4 หาจุดผนังถ้ำที่บางที่สุด และหาจุดที่เด็กอยู่และเจาะถ้ำ

นอกจากนี้ อยากฝากเรื่องราวบางอย่างที่ปรากฏในภาพยนตร์ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่มีคนมาเล่าให้ผู้กำกับฟัง อาจไม่ได้เช็ก และเป็นมุกที่ไปโจมตีการทำงานของราชการไทย ซึ่งอาจสื่อเพื่อให้คลายเครียด แต่มันเป็นมุกที่ข้าราชการอย่างตัวเองเสียความรู้สึกและเสียใจ ถูกนำมาล้อเลียนในภาพยนตร์ที่จะนำไปฉายทั่วโลก เช่น ฉากที่มีการแลกบัตร และการว่าหากอยากใหญ่ก็ไปใหญ่ที่จังหวัด ของคุณโน้น รวมถึงการติดต่องานที่เจ้าหน้าที่หญิงบอกว่าให้ไปที่ศาลากลางจังหวัด

ซึ่งเรื่องจริงยังไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่หญิงคนนั้นเป็นใคร และไม่เคยให้ไปติดต่องานที่ศาลากลาง ตนเองในฐานะทีมปฏิบัติการทั้งหมด ขอบ่นในจุดนี้นิดหนึ่ง ย้ำหากใครชมแล้วก็ขอให้เข้าใจว่ามันคือภาพยนตร์ ไม่ใช่สารคดี จริงๆ แล้วควรใช้คำว่าบทภาพยนตร์ คนจะได้เข้าใจ เพราะหากบอกว่าเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง แต่หลายเรื่องมันไม่จริง แม้แต่ตัวละครหลายตัวก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคือใคร คอสตูมต่างๆ อาจจะไม่ตรง

ขณะที่ ทอม ผู้กำกับภาพยนตร์ บอกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้อยากให้เห็นถึงการช่วยเด็กออกจากถ้ำโดยทีมกู้ภัยทางน้ำ ซึ่งใช้ทีมที่เข้าไปช่วยจริงมาแสดง จึงคิดว่าถ่ายทอดเรื่องตรงจุดนี้ได้สมบูรณ์ แต่ส่วนอื่นเนื่องจากตนเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ก็อาศัยการบอกเล่าจากผู้ที่เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ประกอบ พร้อมใส่บางประเด็นที่อยากเล่าเข้าไป เช่น บางคนอยากไปช่วยแต่ไม่รู้จะช่วยยังไง หรือไม่มีบัตรเข้าแบบนี้ก็ถือว่าน่าสนใจ อยากเล่าตรงนี้ด้วย ไม่อยากให้เห็นว่าเราไม่ได้เข้าข้างใคร เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้มีอะไรหลายอย่างที่สามารถนำมาใส่ในภาพยนตร์ได้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ