เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี

เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี

เผยที่มาชุดผ้าทอลายดอกปีบ มัดหมี่ย้อมครั่งทับครามที่ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี สวมเมื่อครั้งไปพิษณุโลก ความหมายสุดลึกซึ้งในการออกแบบใช้แนวคิด เราคือประชาชนของพระราชา

วันที่ 14 มีนาคม 2564 กลุ่มรัก "พลตรีหญิง เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี" ได้มีการเปิดเผยความหมายข้อมูลเรื่องชุดผ้าไทยของ พลตรีหญิง เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ที่ นายจารุต ภิญโญกีรติ (ห้องเสื้อเพชร) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุดผ้าไทยไว้ว่า ในชุดผ้าทอประจำจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย 1. ผ้าไหมสีม่วงลายดอกปีบ 2. ผ้าฝ้ายลายดอกปีบ 3. ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมครั่งทับคราม ซึ่งเจ้าคุณพระสินีนาฏ ได้มีแนวความคิดอยากให้นำผ้าทั้ง 3 ชิ้น ที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้นำส่งมอบมา และให้นำมาออกแบบและตัดเย็บโดยให้นำผ้าทั้งสามชิ้นตัดเย็บประกอบออกมาเป็นชุดหนึ่งชุดภายใต้แนวความคิดที่ใช้ในการออกแบบ "เราคือประชาชนของพระราชา" ผ้าไหมสีม่วงลายดอกปีบ

ผ้าฝ้ายลายดอกปีบ ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมครั่งทับคราม ผ้าทั้ง 3 ชนิด 3 สี และเส้นใยที่แตกต่างกัน ทั้งหมดได้ถูกออกแบบและตัดเย็บรวมอยู่ในชุดเดียวกัน แสดงออกให้เห็นและเข้าใจว่าประชาชนคนไทยไม่ว่าจะมี อาชีพ ฐานะที่แตกต่างกันทุกคนต่างใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขในพื้นแผ่นดินไทยภายใต้พระบารมี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีเทคนิคการประดับและตกแต่งของชุดประกอบด้วย

1. ตะเข็บตกแต่งด้วยไส้ไก่สอดเชือก มีความหมายว่า ไส้ไก่สอดเชือกถึงจะเล็กและมีหน้าที่เพียงขั้นระหว่างผ้า 2 ชิ้น แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะได้ทำหน้าที่ให้ผ้าทั้ง 2 ชิ้น เมื่อเชื่อมต่อกันแล้วมีความคมชัดและสวยงามขึ้น เปรียบเหมือน "คันนา"

2. การสานตะขาบ เพื่อตกแต่งตะเข็บรอยต่อชายกระโปรง มีความหมายคือ ไส้ไก่เส้นเล็ก ๆ หลาย ๆ เส้นที่ถูกถักทอขึ้นเป็นลายตะขาบ แสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติจะนำพาให้คนในชาติก้าวข้ามผ่านในทุกอุปสรรค แนะนำมาในความเจริญรุ่งเรืองของทุกคนในชาติไทย

3. มุกที่ใช้ประดับที่รอยต่อของชายกระโปรงส่วนล่างของกระโปรง สื่อให้ทราบถึงว่าพระองค์ท่านมีความเข้าอกเข้าใจในทุกความรู้สึกของประชาชนชาวไท

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ