เช็คเลย สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 เสียชีวิต แล้วได้เท่าไร

เช็คเลย สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 เสียชีวิต แล้วได้เท่าไร

สิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ที่เราจ่ายไปแต่ละเดือน แล้วเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ได้รับสิทธิประโยชน์ในการช่วยเหลืออะไรบ้าง ได้รับเป็นเงินเท่าไหร่ สามารถยื่นเบิกใช้เอกสารอะไรบ้าง เข้าไปเช็คกันเลย

เช็คสิทธิ "ประกันสังคม" ผู้ประกันตนมาตรา 33 ,มาตรา 39 และ มาตรา 40 สิทธิที่ควรรู้ กรณีเสียชีวิต 3 สิทธิ ที่ทายาทจะได้รับหาก "ผู้ประกันตน" เสียชีวิต

1. ค่าทำศพ 50,000 บาท มาตรา 33 และ 39 (ลูกจ้าง) ได้ 50,000 บาท แก่ผู้จัดการศพ ถ้าขาดส่งต้องมีจ่าย 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต มาตรา 39 (ลาออกแล้วส่งต่อ) ได้ 50,000 บาท แก่ผู้จัดการศพ ถ้าขาดส่งต้องมีจ่าย 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต มาตรา 40 (อาชีพอิสระ)

- ได้ 25,000 บาท กลุ่มที่จ่ายสมทบเดือนละ 70-100 บาท

- ได้ 50,000 บาท กลุ่มที่จ่ายสมทบเดือนละ 300 บาท และสมทบมา แล้วภายใน 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต

2. เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต "มาตรา 33 และ 39 (ลูกจ้าง,ลาออกแล้วส่งต่อ)"

- จ่ายสมทบ 36-120 เดือน: ได้เงินสงเคราะห์ 2 เท่า ของรายได้ที่นำส่ง

- จ่ายสมทบ 120 เดือนขึ้นไป: ได้เงินสงเคราะห์ 6 เท่า ของรายได้ที่นำส่ง มาตรา 40 (อาชีพอิสระ) ได้ 8,000 บาท เมื่อสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนก่อนเสียชีวิตจ่ายให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์ โอนเงินเข้าภายใน 4 วันหลังจากอนุมัติจ่าย

3. เงินชราภาพ เสียชีวิตก่อน

-หลังอายุ 55 ปี "ผู้ประกันตนเสียชีวิต ก่อนอายุ 55 ปี"

- จ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้เงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่าย

- จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน ได้เงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และ นายจ้าง จ่าย ผู้ประกันตนเสียชีวิตหลังอายุ 55 ปี ได้เงิน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

ถ้าเสียชีวิตภายใน 5 ปี หลังรับเงินบำนาญชราภาพ จ่ายให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์ ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ ค่าทำศพใครได้ จ่ายให้ผู้จัดการศพ ตามที่ทำหนังสือรับรองเป็นผู้จัดงานศพ ซึ่งจะระบุเป็นสามี ภรรยา บิดามารดา หรือ บุตรของผู้ประกันตน หรือคนอื่นที่มีหลักฐานว่า เป็นผู้จัดการศพก็ได้ "เงินสงเคราะห์กรณีตาย ใครได้"

- ผู้ตายระบุไว้ ผู้ที่จะได้เงินสงเคราะห์คือคนที่ผู้เสียชีวิตระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้เงินสงเคราะห์

- ผู้ตายไม่ได้ระบุว่าให้ใคร ถ้าไม่ได้ทำหนังสือไว้ให้นำมาเฉลี่ยให้แก่สามีภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน แบ่งเท่า ๆ กัน

- ผู้ตายไม่มีญาติ ถ้าไม่มีทายาทตามกฏหมาย ให้ทำหนังสือระบุสิทธิว่าให้ใครเป็นผู้มีสิทธิรับผลประโยชน์ให้ชัดเจน พร้อมพยานบุคคล 2 คน ทำเอกสารและเก็บไว้กับผู้ให้ผลประโยชน์ และผู้รับผลประโยชน์ถือไว้คนละฉบับ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน เงินชราภาพใครได้ ให้ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินแบ่งเท่า ๆ กัน

"ยื่นเบิกใช้เอกสารอะไรบ้าง"

-สปส.2-01 แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม แยกตามกรณีที่จะเบิก

-สำเนามรณะบัตร

-บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของผู้ตาย

-บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของผู้รับผลประโยชน์

-สงเคราะห์กรณีตาย/เงินชราภาพ -ผู้จัดงานศพ ให้แนบพร้อมหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดงานศพ

5. เอกสารอื่น ๆ ถ้ามีเพื่อใช้ระบุสิทธิ เช่น สำเนาทะเบียนสมรสผู้ตาย

6. สำเนาทะเบียนสมรสพ่อแม่ผู้ตาย/สูติบัตรลูก/ใบเปลี่ยนชื่อ ยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพพื้นที่ 1-12 หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาทั่วประเทศ หรือ www.sso.go.th โดยการเบิกในแต่ละกรณี ให้แยกเอกสารตามกรณีที่จะเบิก

ขอบคุณภาพจาก pixabay , ประกันสังคม

เรียบเรียงข้อมูลโดย viralsfeedpro

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ