เปิด 6 ข้อ กักตัวอย่างไร ให้ปลอดภัย ซักผ้ายังไง ไม่ให้คนในบ้าน ติดเชื้อ

เปิด 6 ข้อ กักตัวอย่างไร ให้ปลอดภัย ซักผ้ายังไง ไม่ให้คนในบ้าน ติดเชื้อ

เปิด 6 ข้อแนะนำจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กักตัวอย่างไรให้คนในบ้านปลอดภัย เราไม่แพร่เชื้อต่อ และจัดการของใช้อย่างไร ให้คนในบ้านปลอดภัยที่สุด เผยข้อมูลที่คนเข้าใจผิด รักษาตัวหายกี่วัน ถึงจะไม่แพร่ เ ชื้ อ ต่อ มีคำตอบ

โรค CV-19 เป็นโรคติดเชื้อไวรัสผ่านทางละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจ และจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู่ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ CV-19 นับว่าเป็นตระกูลหนึ่งของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร มีดู 6 ข้อในการใช้กักตัวให้คนในบ้านปลอดภัยที่สุด มีดังนี้

1.ควรแยกห้องนอน ห้องน้ำให้ชัดเจน (หากทำได้) และให้แยกห่างจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เปิดประตู หน้าต่างเพื่อให้มีการระบายอากาศ สู่ภายนอกเป็นระยะ และปิดประตูด้านที่เชื่อมต่อ กับคนอื่นภายในบ้านจะเปิดได้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

2.เตรียมจัดของใช้ สำหรับผู้ต้องแยกกักแยกกับผู้อื่น ทั้งผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม อุปกรณ์ทำความสะอาดแยกต่างหาก

3. การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม กรณีที่ไม่สามารถแยกห้องได้ ให้ผู้อื่นใช้ห้องน้ำก่อน ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัว ใช้เป็นคนสุดท้าย พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%

4. จัดหาอาหาร เครื่องดื่ม แยกส่งให้เป็นการเฉพาะ หากต้องนำส่ง ให้ส่งไว้หน้าห้องพัก และแจ้งให้ ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัวออกมารับ โดยไม่พบหน้ากันได้ หรือถ้าจำเป็นต้องส่งในห้องพัก ให้ใส่หน้ากากอนามัยทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ส่งและผู้รับ

5. เตรียมสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เพื่อทำความสะอาด เพื่อใช้เฉพาะสำหรับผู้แยกกักตัว หรือกักกันตัว 6. เสื้อผ้าใช้แล้ว ให้แยกตะกร้าและแยกซัก แต่หากใช้เครื่องซักผ้าอาจซักรวมกันได้ โดยให้ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัว นำเสื้อผ้าใช้แล้ว มาใส่ในตู้และไม่สัมผัสโดยรอบ และให้ผู้รับผิดชอบซักผ้านั้น ทำหน้าที่ใส่น้ำยาซักผ้า ตั้งค่าการซักผ้า เปิดปิดเครื่องให้เรียบร้อย ส่วนการตากนั้น สามารถตากรวมได้ เมื่อรีดแล้วให้แยกให้เรียบร้อยส่งให้ ผู้ถูกกักตัวเป็นการเฉพาะ

นพ.ธนีย์ ธนียวัน หรือ Tany Thaniyavarn, MD อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด, วิกฤติบำบัด และการปลูกถ่ายปอด จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์คลิปให้ความรู้ลงใน Youtube ช่อง Doctor Tany ว่า การกักตัวของผู้ที่ติดโควิด ถ้ามีอาการไม่รุนแรง กักตัวแค่ 10 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอาการวันแรก เลย 10 วันไปแล้วสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะมีอาการอยู่ก็ตาม

"โดยทั่วไปโควิด จะมีอาการช่วงแรก หลังจากนั้นจะเริ่มดีขึ้น ในคนที่อาการไม่มาก ไม่ต้องใช้ออกซิเจน แล้วอาการทุก ๆ อย่างเริ่มดีขึ้นเรียบร้อยแล้ว ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ คือไม่มีไข้เลย ผ่านไป 10 วันก็ไม่แพร่เชื้อแล้ว ไม่ต้องกักตัวต่อก็ได้ แต่สำหรับคนที่มีอาการมาก ต้องใช้ออกซิเจนขนาดสูง เข้าไอซียู กลุ่มนี้ต้องกักตัวให้ครบ 20 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอาการวันแรก" และในกลุ่มพิเศษคือ กลุ่มที่รับประทานยากดภูมิต้านทาน หรือมีโรคภูมิต้านทานผิดปกติ แพทย์ต้องตรวจซ้ำ RT-PCR เพื่อดูว่าจะแพร่เชื้อได้อีกหรือไม่ โดยเกณฑ์ที่โรงพยาบาลใช้คือ ถ้าตรวจ RT-PCR สองครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง มีค่า CT (Cycle Threshold) เกิน 30 ทั้งสองครั้ง อย่างนี้ก็ไม่แพร่แล้ว แม้มันยังบวกอยู่ แต่เป็นแค่เศษซากเชื้อที่ไม่สามารถแพร่เชื้อได้

นพ.ธนีย์ ระบุว่า โดยทั่วไป ทุก ๆ คนในครอบครัว หรือคนที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ควรฉีดวัคซีนให้ครบเรียบร้อย เพราะคนที่เพิ่งหายมาใหม่ ๆ อาจไม่มีปัญหาเท่าไร เนื่องจากภูมิป้องกันการติดเชื้อยังมีอยู่ แต่ถ้าภูมิของคนที่อยู่ร่วมอาศัย ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรืออาจจะไปรับเชื้อที่ไหนมาแล้วก็สามารถเป็นได้ยิ่งถ้ามีคนในครัวเรือนที่อยู่ด้วยกันมากกว่า 1 คน เช่น "ผมเป็น แล้วผมหาย กักตัวในโรงพยาบาลครบ 10 วันเสร็จเรียบร้อยกลับบ้านแล้ว ตอนนั้นผมไม่แพร่แล้วนะครับ แม้ว่าผมจะมีไอ มีน้ำมูกอยู่ก็ตาม แต่ถ้าคนในครอบครัวผมมี 3-4 คน ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ถ้าคนหนึ่งในนั้นติด แล้วผมก็ไปกินข้าวด้วย ผมอาจไม่เป็นอะไร แต่ 3-4 คนที่อยู่ด้วยกัน ถ้าคนหนึ่งมีเชื้อ ก็มีโอกาสจะติดได้ เพราะว่าเขายังไม่มีภูมิต้านทาน"

ขอบคุณภาพจาก pixabay,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ,Doctor Tany

เรียบเรียงข้อมูลโดย viralsfeedpro

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ